หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์(: Master of Political Science Program in Political Sciences)
ปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์)
ชื่อย่อ : ร.ม. (รัฐศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Political Science (Political Sciences)
ชื่อย่อ : M.Pol.Sc. (Political Sciences)
ความสำคัญของหลักสูตร
เเป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้
ความสามารถและทักษะทางด้านการเมือง การปกครอง การบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน สามารถ
ปฏิบัติงานด้านการบริหารและระดับปฏิบัติการ มีความสามารถในการวิจัยด้านรัฐศาสตร์ร่วมสมัยนำมา
พัฒนาเชิงพื้นที่ และสามารถเสนอข้อเสนอใหม่ต่อวงวิชาการรัฐศาสตร์ มีภาวะผู้นำ สมรรถนะที่เป็นมือ
อาชีพในการจัดการการสื่อสารทางการเมืองการปกครอง
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1.นักการเมือง นักปกครอง และนักบริหาร ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ |
2.ภาครัฐตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้ เช่น อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ข้าราชการพลเรือนของ
กระทรวงต่าง ๆ ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร เจ้าพนักงานปกครอง ปลัดอำเภอ ฯลฯ |
3.รัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้ เช่น พนักงานการท่องเที่ยว พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย พนักงานการไฟฟ้านครหลวง พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พนักงานการประปานคร
หลวง ฯลฯ |
4.หน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทและห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้ เช่น
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิเคราะห์และประเมินโครงการ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิจัย
นักบริหารงานบุคคล พนักงานบริการ พนักงานขาย พนักงานลูกค้าสัมพันธ์ พนักงานฝึกอบรม พนักงาน
ติดต่อประสานงาน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เป็นต้น |
5.องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้แก่ องค์การพัฒนาเอกชนและมูลนิธิต่าง ๆ โดยมีตำแหน่งที่สามารถ
บรรจุได้ เช่น งานสืบค้นข้อมูล งานวิจัยและพัฒนา งานบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมงานรณรงค์และ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
|
6.องค์การระหว่างประเทศ ตำแหน่งที่สามารถบรรจุได้ เช่น สถานทูตของประเทศต่าง ๆ องค์กร
สังกัดองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น ตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลปกครอง
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง |
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาพื้นฐานเสริม หมวดวิชาเฉพาะ และหมวด
วิทยานิพนธ์ โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในประกาศ
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ข้อ
8.2 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ
17 (2) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐศาสตร์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2566
หมวดวิชา |
แผน 1 แบบวิชาการ (รายวิชาและวิทยานิพนธ์) |
แผน 2 แบบวิชาชีพ (รายวิชาและการค้นคว้าอิสระ) |
1.หมวดเฉพาะด้าน |
|
|
– วิชาบังคับ |
15 |
15 |
– วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า |
9 |
15 |
2.วิทยานิพนธ์/ค้นคว้าอิสระ |
12 |
6 |
3.หมวดวิชาพื้นฐานเสริม |
6(ไม่นับหน่วยกิต) |
6(ไม่นับหน่วยกิต) |
รวม |
36 |
36 |
รายวิชา
แผน 1 แบบวิชาการ (รายวิชาและวิทยานิพนธ์)
หมวดวิชาเฉพาะ 24 หน่วยกิต
1)กลุ่มวิชาบังคับ |
|
15 หน่วยกิต |
2588101 |
แนวคิดทฤษฎีและวิทยวิธีทางรัฐศาสตร์ |
3(3-0-6) |
2588102 |
วิทยวิธีและนวัตกรรมการวิจัยทางรัฐศาสตร์ |
3(2-2-5) |
2588103 |
การพัฒนานักบริหารภาครัฐและภาคเอกชนยุคดิจิทัล |
3(3-0-6) |
2588104 |
รัฐศาสตร์ภาคพลเมืองยุคดิจิทัล |
3(3-0-6) |
2588105 |
สัมมนาประเด็นร่วมสมัยทางรัฐศาสตร์ |
3(2-2-5)
|
2)กลุ่มวิชาเลือก |
|
9 หน่วยกิต |
2588106 |
การเมืองการปกครองท้องถิ่นร่วมสมัย |
3(3-0-6) |
2588107 |
กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางการเมืองการปกครอง |
3(3-0-6) |
2588108 |
กระบวนการและกลยุทธ์การเป็นนักการเมืองและนักปกครอง |
3(3-0-6) |
2588109 |
การพัฒนาภาวะผู้น านักรัฐศาสตร |
3(3-0-6) |
2588110 |
การสื่อสารการเมืองการปกครองยุคดิจิทัล |
3(3-0-6)
|
2588111 |
นวัตกรรมการบริหารภาครัฐและเอกชน |
3(3-0-6)
|
2588112 |
นวัตกรรมรัฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น |
3(3-0-6)
|